ประวัติการจัดสวน

ปัจจุบันสวนมีรูปแบบหลากหลายและมีความสวยงามต่างๆกันไปให้เราเลือกชื่นชมได้ตามรสนิยม แต่เบื้องหลังภาพสวนสวยๆที่เห็น หลายคนอาจจะเคยนึกสงสัยอยู่บ้างว่าสวนเหล่านี้มีที่มาที่ไปเป็นอย่างไร

รูปแบบของสวนที่มีมาในประวัติศาสตร์โลกแยกการศึกษาออกได้สองส่วนใหญ่ๆ คือ สวนแบบตะวันตก และสวนแบบตะวันออกความแตกต่างของการไล่เรียงรูปแบบสวนจากสองซีกโลกนี้ก็คือ สวนแบบตะวันตกจะมีความต่อเนื่องเรียงกันมาตามยุคสมัยและเหตุการณ์แวดล้อมทางประวัติศาสตร์ พัฒนาการและรูปแบบการเปลี่ยนแปลงจะเชื่อมโยงถึงกันเกือบทุกประเทศ เนื่องจากประเทศทางตะวันตกโดยเฉพาะในยุโรปนั้นมีการแลกเปลี่ยนแนวคิดและเทคโนโลยีกันอยู่ตลอดเวลา ส่วนสวนของประเทศทางตะวันออกจะมีความแตกต่างแยกกันไปตามพื้นฐานวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่ต่างกัน การเชื่อมโยงถ่ายทอดแนวคิดให้กันและกัน
ก็มีบ้างแต่ไม่ได้กระจายทั่วถึงกันหมด อย่างไรก็ดีแนวคิดและรูปแบบสวนจากทั้งทางตะวันตกและตะวันออกต่างก็มีอิทธิพลต่อกันและกันอยู่เสมอยากที่จะแยกออกจากกันได้โดยเด็ดขาด

พวกเราชาวภูมิทัศน์

เธ›เธฃเธฐเธงเธฑเธ•เธดเธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธชเธงเธ™ (History of Landscaping)

อ้อมกะเพื่อน สาขานวัตกรรมภูมิทัศน์

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

สวนญี่ปุ่น:ปรัชญากับการค้นหา




ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของญี่ปุ่นรูปแบบของสวนมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคมและอิทธิพลจากต่างชาติโดยเฉพาะจากจีนซึ่งบางครั้งผ่านมาทางเกาหลี รวมถึงแนวคิดทางศาสนาพุทธมหายานก็ถูกแสดงออกในศิลปะการจัดสวนอย่างชัดเจน อย่างไรก็ดีด้วยสภาพภูมิประเทศอันเป็นเอกลักษณ์  ผนวกกับความเชื่อในการมีอยู่ของจิตวิญญาณและแนวคิดจากศาสนาชินโตที่เน้นการอยู่ร่วมกับธรรมชาติด้วยความเคารพล้วนแต่มีส่วนสำคัญที่ทำให้สวนญี่ปุ่นมีรูปแบบเฉพาะตัวที่ลุ่มลึกไปด้วยปรัชญายากจะเลียนแบบได้ศาสนาพุทธเข้ามาถึงญี่ปุ่นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษแรกพร้อมกับแนวคิดในการสร้างสวนให้เป็นแดนสวรรค์แห่งพระอมิตาดินแดนในอุดมคติแห่งความเป็นอมตะ  แม้จะได้รับอิทธิพลจากจีนแต่ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่เป็นเกาะเต็มไปด้วยภูเขาจึงมีข้อจำกัดด้านขนาดของพื้นที่ทำให้สวนญี่ปุ่นมีขนาดย่อมลงมามาก  เน้นการนั่งชมสวนจากในอาคารมากกว่าการลงเดินในสวน องค์ประกอบสำคัญคือสระน้ำและเกาะแก่ง  การเลือกพืชพรรณและองค์ประกอบต่างๆเพื่อเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงดินแดนแห่งสรวงสวรรค์ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นช่วงเวลาแห่งความสับสนวุ่นวายในยุคกลางของญี่ปุ่น พระในศาสนาพุทธนิกายเซนมีบทบาทอย่างมากในการสร้างสวนแบบนามธรรมเพื่อนำทางไปสู่การหลุดพ้น  อันเป็นที่มาของภูมิทัศน์แบบแห้ง (Dry Landscape) ใช้หิน  กรวด และทราย สีขาวและดำ สร้างสวนเพื่อสื่อถึงดินแดนอุดมคติโดยยึดแนวทางการลดทอนรายละเอียดต่างๆจนเหลือแต่แก่นแท้ทั้งของสวนเอง  และของจิตวิญญาณของผู้ที่เข้าไปทำสมาธิในสวน  พื้นที่อันจำกัดจึงไม่ใช่อุปสรรคในการสร้างบรรยากาศแห่งการหลุดพ้น  หากแต่หัวใจของสวนแบบเซนคือการเข้าใจถึงแก่นแท้ขององค์ประกอบที่ซ่อนอยู่ในองค์ประกอบของสวน  สวนแบบเซนที่มีชื่อเสียงอย่างมากคือสวนที่วัดเรียวอันจิ (Ryoan-ji) แห่งเมืองเกียวโต  คาดว่าสร้างครั้งแรกในปี 1430 และปรับปรุงใหม่ในปี 1488 สวนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าถูกล้อมด้วยกำแพงสองด้านและอีกสองด้านเป็นส่วนของอาคารซึ่งใช้นั่งชมสวนตัวสวนเองสร้างเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของดินแดนในอุดมคติ  ซึ่งมีที่มาจากตำนานเก่าแก่ที่เล่าถึงเกาะแห่งความเป็นอมตะประกอบด้วยพื้นกรวดสีขาวถูกคราดเป็นเส้น  ก้อนหินสิบห้าก้อนถูกจัดวางเป็นห้ากลุ่มมอสและตะไคร่น้ำเป็นสัญลักษณ์ของป่าอันสมบูรณ์สวนน้ำชาเป็นอีกเอกลักษณ์หนึ่งของญี่ปุ่น  ในคริสตศต์วรรษที่ 16  มีการแยกศาลาชงชาออกมาจากตัวบ้านมาไว้ในสวน สวนลักษณะนี้แม้ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงนักกับศาสนาแต่มีแนวคิดที่ลึกซึ้งในการจัดระเบียบจิตวิญญาณ  การเข้าถึงสวนจะถูกจัดลำดับขั้นตอนเพื่อชะล้างความฟุ้งซ่านออกจากจิตใจ  ทุกย่างก้าวในสวนน้ำชาจะต้องเต็มไปด้วยสติ เพื่อไม่ให้เหยียบย่ำไปบนพื้นมอสอันบอบบาง  หรือตกจากก้อนหินที่วางเป็นจังหวะอย่างเหมาะเจาะ หยุดพิจารณาตะเกียงหินหรือจังหวะการกระดกของกระบอกไม้ไผ่  เมื่อเดินจนถึงศาลาชงชาผู้ที่ผ่านสวนมาก็จะเต็มเปี่นมไปด้วยสติและสมาธิพร้อมสำหรับพิธีชงชาอันละเอียดอ่อน ความงามของสวนน้ำชาเน้นความเหมาะเจาะพอดี ว่ากันว่าผู้ดูแลสวนจะเก็บกวาดใบไม้โดยเหลือทิ้งไว้บ้างตามทางเดินเพื่อให้ได้บรรยากาศตามธรรมชาติที่จะต้องมีใบไม้ร่วงอยู่ตามพื้นบ้านในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ตรงกับสมัย  เอโดะ (Edo) มีการพัฒนาสวนขึ้นอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้สำหรับเดินชม  (Stroll Garden) องค์ประกอบของสวนยังคงแสดงออกถึงบรรยากาศของดินแดนอมตะในอุดมคติ  แต่มีการกำหนดแนวทางเดินและสร้างจุดสนใจเป็นระยะเพื่อให้เกิดความรื่นรมย์ในการเดินชื่นชมความงามของแดนสวรรค์บนดินลักษณะที่น่าสนใจขององค์ประกอบทางธรรมชาติถูกดึงออกมาให้เห็นอย่างกลมกลืน  แสดงให้เห็นความละเอียดอ่อนของชาวญี่ปุ่นที่ทั้งเข้าใจและเคารพในธรรมชาติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตัวอย่างสวน

ปฏิทินอ้อม