ประวัติการจัดสวน

ปัจจุบันสวนมีรูปแบบหลากหลายและมีความสวยงามต่างๆกันไปให้เราเลือกชื่นชมได้ตามรสนิยม แต่เบื้องหลังภาพสวนสวยๆที่เห็น หลายคนอาจจะเคยนึกสงสัยอยู่บ้างว่าสวนเหล่านี้มีที่มาที่ไปเป็นอย่างไร

รูปแบบของสวนที่มีมาในประวัติศาสตร์โลกแยกการศึกษาออกได้สองส่วนใหญ่ๆ คือ สวนแบบตะวันตก และสวนแบบตะวันออกความแตกต่างของการไล่เรียงรูปแบบสวนจากสองซีกโลกนี้ก็คือ สวนแบบตะวันตกจะมีความต่อเนื่องเรียงกันมาตามยุคสมัยและเหตุการณ์แวดล้อมทางประวัติศาสตร์ พัฒนาการและรูปแบบการเปลี่ยนแปลงจะเชื่อมโยงถึงกันเกือบทุกประเทศ เนื่องจากประเทศทางตะวันตกโดยเฉพาะในยุโรปนั้นมีการแลกเปลี่ยนแนวคิดและเทคโนโลยีกันอยู่ตลอดเวลา ส่วนสวนของประเทศทางตะวันออกจะมีความแตกต่างแยกกันไปตามพื้นฐานวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่ต่างกัน การเชื่อมโยงถ่ายทอดแนวคิดให้กันและกัน
ก็มีบ้างแต่ไม่ได้กระจายทั่วถึงกันหมด อย่างไรก็ดีแนวคิดและรูปแบบสวนจากทั้งทางตะวันตกและตะวันออกต่างก็มีอิทธิพลต่อกันและกันอยู่เสมอยากที่จะแยกออกจากกันได้โดยเด็ดขาด

พวกเราชาวภูมิทัศน์

เธ›เธฃเธฐเธงเธฑเธ•เธดเธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธชเธงเธ™ (History of Landscaping)

อ้อมกะเพื่อน สาขานวัตกรรมภูมิทัศน์

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

สวนจีน:ธรรมชาติกับภาพเขียน

ลัทธิเต๋าซึ่งว่าด้วยแนวทางของการดำเนินชีวิต  กล่าวถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ โดยเน้นที่การสร้างสมดุลเป็นปรัชญาพื้นฐานที่สอดแทรกอยู่ในวิถีชีวิตของชาวจีน  อันส่งผลต่อรูปลักษณ์ของงานศิลปะแขนงต่างๆโดยเฉพาะในภาพเขียนและการจัดสวน  ลักษณะของภาพเขียนจีนและสวนมีลักษณะร่วมกันหลายประการ คือเป็นการสร้างสภาพภูมิทัศน์ธรรมชาติในอุดมคติ (Ideal Natural Landscape) เป็นภาพของสถานที่อันสวยงามเป็นอมตะ (Immortal Land) โดยใช้แรงบันดาลใจจากสภาพธรรมชาติอันงดงามของจีน  เลือกที่จะดึงลักษณะบางประการมาแสดง  มีการเว้นว่างพื้นขาวหรือเว้นกำแพงขาวไว้เพื่อให้ผู้ชมต่อเติมจินตนาการเอง เหมือนกับธรรมชาติที่มีเขาสูงชันสลับซับซ้อนโดยมีบางส่วนถูกบดบังไปด้วยหมอกขาว  ดังนั้นสวนจีนจึงมีภาพที่แตกต่างกันไปตามแต่จินตนาการของผู้ชมอันเป็นเสน่ห์เฉพาะตัวของสวนจีน
กำเนิดสวนจีนนั้นนับถอยหลังไปได้ก่อนคริสตกาล  เริ่มแรกสวนถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ล่าสัตว์ขององค์จักรพรรดิ์และถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แสดงอำนาจโดยใช้เป็นสถานที่จำลองของระบบจักรวาลโดยมีจักรพรรดิเป็นศูนย์กลางรวมถึงเป็นที่สะสมพรรณไม้ สัตว์ และศิลปะจากต่างแดน  ส่วนสวนส่วนตัวของบรรดานักปราชญ์และผู้มีอันจะกินนั้นสร้างขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อดึงธรรมชาติมาใกล้ตัวให้เข้าถึงได้ง่าย  โดยยึดแนวคิดของดินแดนอมตะในอุดมคติเป็นหลักซึ่งแสดงให้เห็นด้วยการเลือกใช้องค์ประกอบต่างๆ ได้แก่  ใช้ไม้ไม่ผลัดใบให้เขียวตลอดเวลา ใช้ไม้ดอกสร้างสีสันพร้อมสื่อความหมายของวงจรชีวิตที่มีเกิดมีดับ ใช้พืชสัญลักษณ์ เช่น  บัวซึ่งเชื่อมโยงถึงหลักธรรมในพุทธศาสนาและไผ่ที่หมายถึงความยืนยาว และมิตรภาพ เป็นต้น  เน้นการใช้หินและน้ำเพื่อสร้างความสมดุล หยิน-หยางสวนจะถูกแบ่งเป็นห้องๆทำให้เกิดความลึกลับน่าค้นหา  แต่ละห้องจะมีประตูทางเข้าเป็นรูปต่างๆที่เห็นได้บ่อยจะเป็นรูปวงกลมหรือที่เรียกกันว่า "มูนเกต" (Moon  Gate) แต่ละห้องกั้นด้วยกำแพงสีขาวปิดกั้นสิ่งรบกวนจากภายนอกกำแพงขาวจึงกลายเป็นพื้นภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมได้จินตนาการต่อเอง  เหนือประตูทางเข้าแต่ละสวนจะมีป้ายบอกชื่อของสวนนั้นให้ทราบว่าผู้ออกแบบต้องการจะสื่ออะไรแก่ผู้ชม  ในสวนจีนมักจะมีการกำหนดจุดสำหรับชมสวนไว้โดยเฉพาะเช่น ศาลา สะพาน เก๋งจีน เป็นต้น  ทางเดินจะถูกกำหนดไว้แล้วและมักจะเป็นเส้นตรงซิกแซกไปมาทำให้รู้สึกว่าสวนมีขนาดกว้างใหญ่เกินจริง  เส้นซิกแซกทำให้มุมมองขณะเดินหักเหเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆไม่ซ้ำซากจำเจช่วยทำให้สวนมีเสน่ห์น่าค้นหา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตัวอย่างสวน

ปฏิทินอ้อม