ประวัติการจัดสวน

ปัจจุบันสวนมีรูปแบบหลากหลายและมีความสวยงามต่างๆกันไปให้เราเลือกชื่นชมได้ตามรสนิยม แต่เบื้องหลังภาพสวนสวยๆที่เห็น หลายคนอาจจะเคยนึกสงสัยอยู่บ้างว่าสวนเหล่านี้มีที่มาที่ไปเป็นอย่างไร

รูปแบบของสวนที่มีมาในประวัติศาสตร์โลกแยกการศึกษาออกได้สองส่วนใหญ่ๆ คือ สวนแบบตะวันตก และสวนแบบตะวันออกความแตกต่างของการไล่เรียงรูปแบบสวนจากสองซีกโลกนี้ก็คือ สวนแบบตะวันตกจะมีความต่อเนื่องเรียงกันมาตามยุคสมัยและเหตุการณ์แวดล้อมทางประวัติศาสตร์ พัฒนาการและรูปแบบการเปลี่ยนแปลงจะเชื่อมโยงถึงกันเกือบทุกประเทศ เนื่องจากประเทศทางตะวันตกโดยเฉพาะในยุโรปนั้นมีการแลกเปลี่ยนแนวคิดและเทคโนโลยีกันอยู่ตลอดเวลา ส่วนสวนของประเทศทางตะวันออกจะมีความแตกต่างแยกกันไปตามพื้นฐานวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่ต่างกัน การเชื่อมโยงถ่ายทอดแนวคิดให้กันและกัน
ก็มีบ้างแต่ไม่ได้กระจายทั่วถึงกันหมด อย่างไรก็ดีแนวคิดและรูปแบบสวนจากทั้งทางตะวันตกและตะวันออกต่างก็มีอิทธิพลต่อกันและกันอยู่เสมอยากที่จะแยกออกจากกันได้โดยเด็ดขาด

พวกเราชาวภูมิทัศน์

เธ›เธฃเธฐเธงเธฑเธ•เธดเธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธชเธงเธ™ (History of Landscaping)

อ้อมกะเพื่อน สาขานวัตกรรมภูมิทัศน์

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

ขั้นตอนการจัดสวน


หลังจากได้ออกแบบสวน ประเมินราคา และตกลงกับเจ้าของสถานที่เรียบร้อยแล้ว นักจัดสวนต้องวางแผนและเตรียมงานเป็นขั้นต่อไป เพื่อกะระยะให้สวนเสร็จตามวัน และ เวลาที่ต้องการจากการจัดสวนโดยทั่วไปจะพบว่า มีลำดับการทำงานเป็นขั้น ๆ เพื่อความสะดวกในการทำงานและมีผลให้งานแต่ละส่วนได้ผลดี ทั้งง่ายต่อการเบิกเงินแต่ละงวดของเจ้าของบ้าน เมื่อการจัดสวนได้ถึงขั้นตอนที่กำหนดไว้
       


         1)การเลือกซื้อพรรณไม้  (Getting plant) เป็นการสำรวจและหาแหล่งพรรณไม้ที่มีในแบบตามแหล่งต่าง ๆ ของร้านขายพรรณไม้ภายในเมืองนั้น โดยพยายามหาทั้งชนิดของต้นไม้, ขนาด, รูปทรง และราคาให้เป็นไปตามแบบที่เสนอต่อเจ้าของบ้าน
        2)การปรับที่อาจเริ่มจากการปรับหน้าดินให้เรียบตามระดับที่ต้องการ ซึ่งต้องใช้จอบย่อยดินให้ละเอียด และนำดินมาถมตามจุดที่ต่ำไปหรือถากดินออกบริเวณที่หน้าดินสูงเกินไป ช่วงใดที่ต้องการให้
เป็นเนินก็เอาปูนขาวโรย แสดงขอบเขตของเนินนั้น ๆ (ดูจากแปลน) และทยอยเอาดินมาถมในบริเวณปูนขาวให้สูงตามที่ต้องการ
        3)การขุดหลุมปลูกไม้พุ่มควรขุดลึกประมาณ 0.4 – 0.5 m ถ้าไม้พุ่มอยู่ติดกันหลายต้นควรขุดต่อกันเป็นแปลงตามรูปร่างของตำแหน่งที่จะปลูก แล้วผสมดินใส่ปุ๋ยและปูนขาวตามสูตรหลังจากนั้นก็
ขุดหลุมปลูกไม้คลุมดินควรขุดลึกเพียง  0.25 – 0.3  m ก็พอ ดินปลูกก็ดูตามชนิดของต้นไม้ด้วย ไม้คลุมดินที่นิยมปลูกทั่วไป คาดตะกั่ว, หัวใจม่วง, ก้ามปูหลุด, มหากาษ, โป๊ยเซียนแคระ ฯลฯ
        4)การกำจัดวัชพืช (Weed Control) ในระยะที่ทำการขุดหลุมเพื่อเตรียมปลูกต้นไม้นั้นหรือหลังจากปรับที่ประมาณ 1 – 2 อาทิตย์ วัชพืชก็จะงอกขึ้นมาภายหลังก็ควรกำจัดวัชพืชบริเวณนั้นออกให้ได้
มากที่สุด ถ้ามีมากควรใช้ยากำจัดวัชพืชฉีด แต่ถ้าฉีดก็ควรทิ้งไว้นานพอสมควร (ตามฉลากยา) จึงปลูกหญ้าได้การกำจัดวัชพืชก็ควรมีเรื่อย ๆ แม้ว่าจะปลูกหญ้าไปแล้วก็ตามก็ควรจะขุดวัชพืชทิ้งเมื่อ
เกิดขึ้นมาอีก
        5)การวางก้อนหิน  (Setting Stones) ก้อนหินมีรูปทรงต่าง ๆ ตามธรรมชาติโดยไม่ได้ถูกตัดเพื่อแสดงให้เห็นถึงลักษณะธรรมชาติของหินที่เปลี่ยแปลงไปโดยภูมิอากาศต่าง ๆ ซึ่งแต่ละแบบจะบอก
ถึงบรรยากาศของถิ่นที่มาของหินนั้น ๆ เช่น หินอาจเรียบหรือขรุขระ เนื่องจากลมและพายุ จากแม่น้ำ มหาสมุทร สีจะแสดงถึงความมั่นคงสงบนิ่ง หินที่มีรูปร่างกลม, หรือหินที่ขัดถูแล้วจะไม่นิยมใช้ใน
การจัดสวน เพราะจุทำให้ดูไม่เป็นธรรมชาติ สีที่นิยมคือสีน้ำตาล, แดง, ม่วง, เขียวปนน้ำเงิน สีขาวไม่นิยมเพราะขาวเกินไปและไม่ประทับใจเมื่อมองดู และควรหลีกเลี่ยงการใช้สีก้อนหินที่ติดกัน
        6)การปลูกไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม และไม้คลุมดิน  (Planting) เมื่อได้เตรียมหลุมและเตรียมดินในหลุมเรียบร้อยแล้วก็เตรียมปลูกต้นไม้มาจากแหล่งชื้อต่าง ควรปลูกไม้ใหญ่ก่อน โดยนำต้นไม้ไปใกล้ปากหลุม ถอดกระถางออกหรือทุบกระถางให้แตกเพื่อกันการ
กระเทือนของรากโกยดินออกจากหลุมให้ลึกเท่ากับความสูงของกระถางวางต้นไม้ไว้ในหลุม กลบดินให้แน่นให้โคนต้นไม้เสมอปากหลุมรอบ ๆ โดยต้นไม้ควรทำเป็นแอ่งรับน้ำไว้ เพื่อให้ต้นไม้ได้รับมากที่สุด เมื่อปลูกแล้วควรค้ำโดยไม้ไผ่, ไม้สน ใช้ไม้ประมาณ 3 อัน โดยจับต้นไม้ให้ตรงแทงกิ่งไผ่ลงในดิน ค้ำเป็นสามเหลี่ยมมัดด้วยเชือกให้แน่นทั้งนี้เพื่อการกันโยกของต้นเทื่อลมพัดเพราะการ
โยกของต้นจะทำให้รากกระเทือนหรือขาดได้
        
การปลูกไม้พุ่มในแปลงใหญ่ที่เตรียมไว้ การเว้นระยะที่พอเหมาะพอการเจริญเติบโตของไม้พุ่มชนิดนั้น ๆ ด้วย ถ้าต้นไม้อยู่ในตำแหน่งที่ลมพัดแรงก็จะทำให้ทุกต้นและควรรอจนไม้เหล่านั้นตั้งตัวได้
จนแตกใบใหม่ออกมาจึงเริ่มตัดแต่งที่รงพุ่มให้เป็นตามที่ต้องการ
         การปลูกไม้คลุมง่ายต่อการถอดกระถางออก เพราะเป็นกระถางเล็กจะลงไม้คลุมดินส่วนใหญ่ค่อนข้างทนทาน เมื่อถอดกระถอดอย่างลือเอาเศษกระดาษที่รองใต้กระถางออกด้วยถ้าภายในกระถางมี
หลายต้นก็แยกออกปลูกได้จะได้ประหยัดต้นไม้อีกเพราะไม้คลุมดินเติบโตได้เร็วและต้องตัดแต่งอยู่เสมอเพื่อไม่ให้หนาแน่นไป
         7)การปูหญ้า  (LAWN Installation)ก่อนที่จะปลูกหญ้า ควรจะปรับที่ให้เรียบ เพราะหน้าดินอาจจะถูกซะเป็นร่องหรืออาจเป็นหลุม ควรปรับให้เรียบ โดยใช้ดินถมหลุมอัดให้แน่นดูการระบายน้ำเมื่อฝน
ตก หรือเมื่อรดน้ำเพื่อปรับระดับ ก่อนปลูกหญ้า   เมื่อปรับระดับเรียบร้อยแล้วก็ควรสั่งทรายและหญ้า ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยเทศบาล โดยกะจำนวนให้ถูกต้อง หญ้าควรเลือกชนิดให้ถูกต้องต่อสภาพของแสง เช่น ในร่มใช้หญ้ามาเลเซีย, แดดจัดใช้หญ้านวลน้อย, ญี่ปุ่น เบอร์มิวด้า ควรคำนวณว่าอย่างละกี่ตารางเผื่อขาดเหลืออีก  10 – 20  m  ควรสั่ง
หญ้ามาส่งภายในวันที่จะปลูก ถ้าปูหญ้าหลายวันควรทยอยส่ง จะไม่ทำให้หญ้าเหลือง
          8)การปูทางเท้า  (Laying pavements)  ควรปูทางเท้าหลังจากที่ได้ปูหญ้าเรียบร้อยแล้ว ก็กำหนดแนวทางเท้าบนสนามหญ้าให้ถูกต้อง อาจจะใช้ปูนขาวโรยเป็นแนวทางตามแบบ
        เลือกวัสดุที่ทำเป็นทางเท้า ซึ่งมีหลายเหลี่ยมและหลายขนาดโดยทั่วไปมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 cm, 30 cm   รูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม วงกลมหรือหกเหลี่ยม ส่วนความหนานั้นแล้วแต่ชนิดของวัสดุ
        หินล้าง     :    สะดวกในการใช้ ปลอดภัย สวยพอประมาณ ราคาปานกลาง
        หินกาบ       :   ระวังเรื่อง ความคมของหินกาบ สวยมาก ราคาสูง
        ซีเมนต์อัด   :   เป็นรูปต่าง ๆ ของบริษัทปูนซีเมนต์
        ซีเมนต์     :   แบบเรียบสี่เหลี่ยม ไม่มีสี  ราคาถูก
        ศิลาแลง      :  หนา  10  cm  สวยเหมือนธรรมชาติ แต่เปราะง่าย
         9)  การตัดหญ้า, ให้ปุย, ฉีดยาฆ่าแมลง  (Mowing, Fertilizing and Past Control)
        เมื่อปูหญ้าได้ประมาณ 2 อาทิตย์แล้ว ก็ควรตัดหญ้าที่ปูไว้จะขึ้นไม่เสมอกัน ไม่ควรปล่อยให้หญ้าสูงเกินไป หรือมีดอกเพราะจะทำให้หญ้าเหลืองเมื่อตัดหญ้าออก ควรตัดหญ้าแห้งไม่เปียกน้ำ
แต่โดยประมาณ  12 – 14 วันต่อ  1 ครั้ง โดยตัดออกประมาณ   ส่วน
        ส่วนเครื่องมือที่ใช้ตัดหญ้ามี
         1. กรรไกร  ใช้ตัดแต่งสนามแคบ ๆ
         2. เครื่องตัดหญ้าแบบใบพัดหมุน ใช้ตัดหญ้าได้สูง 1 – 5 นิ้ว
         3. เครื่องตัดหญ้าแบบใบพัด หรือลูกกลิ้ง เมื่อตัดหญ้าเรียบร้อยแล้ว ควรใส่ปุ๋ยสูตร 13 - 13 - 13  สลับกับปุ๋ยยูเรีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตัวอย่างสวน

ปฏิทินอ้อม