ประวัติการจัดสวน

ปัจจุบันสวนมีรูปแบบหลากหลายและมีความสวยงามต่างๆกันไปให้เราเลือกชื่นชมได้ตามรสนิยม แต่เบื้องหลังภาพสวนสวยๆที่เห็น หลายคนอาจจะเคยนึกสงสัยอยู่บ้างว่าสวนเหล่านี้มีที่มาที่ไปเป็นอย่างไร

รูปแบบของสวนที่มีมาในประวัติศาสตร์โลกแยกการศึกษาออกได้สองส่วนใหญ่ๆ คือ สวนแบบตะวันตก และสวนแบบตะวันออกความแตกต่างของการไล่เรียงรูปแบบสวนจากสองซีกโลกนี้ก็คือ สวนแบบตะวันตกจะมีความต่อเนื่องเรียงกันมาตามยุคสมัยและเหตุการณ์แวดล้อมทางประวัติศาสตร์ พัฒนาการและรูปแบบการเปลี่ยนแปลงจะเชื่อมโยงถึงกันเกือบทุกประเทศ เนื่องจากประเทศทางตะวันตกโดยเฉพาะในยุโรปนั้นมีการแลกเปลี่ยนแนวคิดและเทคโนโลยีกันอยู่ตลอดเวลา ส่วนสวนของประเทศทางตะวันออกจะมีความแตกต่างแยกกันไปตามพื้นฐานวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่ต่างกัน การเชื่อมโยงถ่ายทอดแนวคิดให้กันและกัน
ก็มีบ้างแต่ไม่ได้กระจายทั่วถึงกันหมด อย่างไรก็ดีแนวคิดและรูปแบบสวนจากทั้งทางตะวันตกและตะวันออกต่างก็มีอิทธิพลต่อกันและกันอยู่เสมอยากที่จะแยกออกจากกันได้โดยเด็ดขาด

พวกเราชาวภูมิทัศน์

เธ›เธฃเธฐเธงเธฑเธ•เธดเธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธชเธงเธ™ (History of Landscaping)

อ้อมกะเพื่อน สาขานวัตกรรมภูมิทัศน์

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

สวนบาลี:ความเชื่อ ศรัทธา และความงาม

สวนบาหลีแบบที่มักจะเห็นกันในหนังสือ  จริงๆแล้วเพิ่งจะเริ่มพัฒนามาเมื่อประมาณ 25-30 ปีก่อนนี้เองซึ่งก็คือช่วงที่การท่องเที่ยวเข้าไปมีบทบาทมากขึ้นบนเกาะแห่งนี้  และด้วยศักยภาพในหลายๆด้านซึ่งรวมถึงพื้นฐาน  ทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์จึงทำให้เกิดสวนรูปแบบเฉพาะตัวขึ้นมาบนเกาะบาหลีและแพร่กระจายความนิยมไปในประเทศต่างๆโดยรอบด้วยพื้นฐานความเชื่อดั้งเดิมที่เชื่อในวิญญาณและสิ่งศักดิ์สิทธิ  ผสานกับความศรัทธาในศาสนาฮินดูทำให้ชาวบาหลีมีวัฒนธรรม ที่แตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆที่อาศัยในดินแดนแถบนี้  ชาวบาหลีให้ความเคารพและใช้ชีวิตกลมกลืนกับธรรมชาติบ้านเรือนจะอยู่ในกำแพง ภายในวางอาคารล้อมพื้นที่ตรงกลางเป็นคอร์ท (Court)  ซึ่งเป็นที่พบปะและทำกิจกรรมร่วมกันของครอบครัว แต่เดิมพื้นที่ตรงกลางนี้จะถูกทิ้งให้เป็นลานดิน  สวนในบ้านเน้นการปลูกพืชที่นำมาใช้ประโยชน์และรับประทานได้ เช่น มะพร้าว กล้วย เงาะ มะละกอ  รวมถึงไม้ดอกซึ่งสามารถนำไปบูชาเทพเจ้าและเจ้าที่เจ้าทางได้ ดอกไม้มีความสำคัญอย่างมากในวัฒนธรรมของชาวบาหลี  เราจะเห็นการใช้ดอกไม้ประดับตามที่ต่างไปทั่ว แม้กระทั่งบนร่างกายของชาวบาหลีเองที่ได้ชื่อว่ามีความเป็นศิลปินอยู่ในสายเลือดทุกคนเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชาวตะวันตกเข้ามามีบทบาทต่อรูปแบบศิลปะของชาวบาหลีโดยการนำเอาความคิด และเทคนิคใหม่ๆมาผสมผสานกับศิลปะดั้งเดิมสร้างงานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว  ผนวกกับความอุดมสมบูรณ์ ทางพรรณไม้บนเกาะแห่งนี้ทำให้เกิดสวนแบบบาหลีอย่างที่เห็นในปัจจุบันขึ้นมาโดยที่สวนยังคงลักษณะของคอร์ท (Courtyard Garden) ตกแต่งด้วยพรรณไม้เมืองร้อน โดยมีดอกไม้ เช่น บัวลั่นทม และชบาตกแต่งอยู่ทั่วไป  งานหินแกะสลักก็เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญ  เนื่องจากความศรัทธาที่ชาวบาหลีมีต่อ ศานาประกอบกับความมีฝีมือทางศิลป์ทำให้มีการแกะสลักหินเพื่อประดับและตกแต่งวัดวาอารามอยู่เสมอ ทั้งนี้วัสดุที่นำมาแกะนั้นส่วนใหญ่เป็นหินสบู่ผุพังง่ายต้องมีการเปลี่ยนใหม่อยู่เสมอ  รูปแกะสลักเก่าจึงกลายเป็น วัสดุอันมีค่าสำหรับนักจัดสวน นอกจากรูปหินแกะสลักแล้ว  งานศิลปะชนิดอื่นๆ เช่น หม้อ กระถาง ชาม อ่าง ก็ล้วนแต่ถูกนำมาจัดวางในสวนเพื่อแสดงให้เห็นความร่ำรวยทางวัฒนธรรมของเกาะแห่งนี้  โดยส่วนใหญ่ จะเน้นสร้างสวนให้มีเสน่ห์ด้วยบรรยากาศแบบชนบท (Rustic  Charm) นอกจากสวนแบบบ้านชนบทแล้วสวนในวังของบาหลียังแสดงให้เห็นอิทธิพลจากชวาด้วยสวนแบบทางการที่เน้นการใช้รูปทรงเรขาคณิต และการใช้น้ำเพื่อตกแต่งสวน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตัวอย่างสวน

ปฏิทินอ้อม